วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1


บทที่ 1
สมุนไพนกันยุง ตะไคร้หอม
มาทำความรู้จักตะไคร้หอม หนึ่งในน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช ้กันยุง โดยเป็นอีกกลิ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยม 
และสามารถใช้ได้ดีกับ โคมไฟ อโรมา
ชื่อวิทยาศาสตร์
 Cymbopogon nardus Rendle วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE) 



ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้หอม

ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ 
กว้าง 5-20 มม. 
ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา 
ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น 

ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. 
รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก 

ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก 
แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย 

การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก 
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ 





สรรพคุณ
ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน 
ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง 
อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์
(70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู
ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม
มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal 
เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง โดยเฉพาะ กันยุง จากการวิจัยพบว่า 
ทั้งต้นใช้กันยุงได้ ปัจจุบันจึงมีผู้สะกัด เอาสมุนไพรชนิดนี้มาทำเป็น โลชั่นกันยุง บ้าง 
น้ำมันหอมระเหย กลิ่นตะไคร้ ไล่ยุง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น