วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 5


บทที่ 5 สรุป

บทสรุป1 สรุปผลการทดลอง1. การทดลองเปรียบเทียบกลิ่นของสมุนไพรที่มีผลต่อไล่ยุงภายใน 2 ชั่วโมง จากการนำ ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยมานึ่งในเวลา 20 นาทีสามารถทำให้กลิ่นของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดมีกลิ่นหอมมาก แล้วน าสมุนไพรที่นึ่งเสร็จแล้วไปผึงแดดในเวลา 1 นาที เพื่อที่จะได้ให้ไอน้ำละเหยออกซึ่งสมุนไพรจะไม่อับและมีกลิ่นหอมมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงทำให้ยุงบินหรือตายได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง โดยเรานับช่วงเวลาเป็นช่วง 30 - 60 - 90 – 90 โดยเรานำสมุนไพรทุกชนิดมาใส่ในถุงหอมอย่างละ 1 กิโลกรัม พบว่ากลิ่นของสมุนไพร ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูด และใบเตยมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้มากที่สุดที่มีปริมาณ 1 กิโลกรัมเท่าๆกัน ในถุงหอมขนาด 8x8 นิ้ว 2. กลิ่นของสมุนไพรแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้ดีต่อยุง กลิ่นของตระไคร้หอมและขมิ้นมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงดีที่สุด กลิ่นที่สามารถไล่ยุงได้ดีที่สุดคือตะไคร้หอมลองลงมาคือขมิ้น และเปลือกส้มรวมถึงสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณรักษาโรคได้อีก
2 การประยุกต์ผลการทดลอง การศึกษานี้นำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ เช่น มุมห้องภายในบ้าน หน้ารถ ในห้องน้ำ ห้องครัวและในตู้เสื้อผ้านำถุงหอมสมุนไพรแขวนไว้ ณ บริเวณนั้น ซึ่งจากการทดลองพบว่ากลิ่นของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด รวมกันอย่างละ1 กิโลกรัม มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงที่ดีที่สุด ถ้ากลิ่นของสมุนไพรอ่อนกลิ่นลงเราก็สามารถนำไปนึ่งใหม่ได้อีก ทำให้ช่วยประหยัดด้วยซึ่งถือได้ว่ากลิ่นของสมุนไพรค่อนข้างมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและยังเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในการประกอบอาหาร จึงไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3 ข้อเสนอแนะในการทดลอง1. ควรทำการศึกษาความเป็นพิษของ ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยที่มีต่อยุงโดยสามารถนำไปประยุกต์เป็นสารสกัดหรือสเปรย์ ที่สามารถใช้ได้สะดวกสบาย และเป็นการใช้ต้นทุนค่ำและนำไปใช้ในภาคสนามเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายและทัศนคติการยอมรับของประชาชนเพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าในการนำไปใช้ในแผนงานโครงการแก้ปัญหาทางสาธารณสุขในการควบคุมจำนวนยุงและป้องกันโรคต่างๆที่เกิดจากยุง2. ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะ บางชนิดอาจมีกลิ่นแรง จึงทำให้ประชาชนบางคนไม่ชอบไม่อยากใช้ดังนั้นควรที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ตะไคร้หอม ขมิ้น เปลือกส้ม เปลือกมะกรูดและใบเตยไปไว้ ณ บริเวณนั้นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อจะได้กลิ่นสมุนไพรอ่อนและหอมสูดดมสดชื่นและยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือผู้ใช้


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น